วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

กฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

๑. ความหมาย
การกู้ยืมเงินเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้กู้" มีความต้องการจะใช้เงิน แต่ตนเองมีเงินไม่พอ หรือไม่มี เงินไปขอกู้ยืมจากบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ให้กู้" และผู้กู้ตกลงจะใช้คืน ภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง การกู้ยืมจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ มีการส่ง มอบเงินที่ยืมให้แก่ผู้ที่ให้ยืม ในการกู้ยืมนี้ผู้ให้กู้จะคิดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้
ตัวอย่าง นายดำ ต้องการจะซื้อรถราคา ๑๕๐,๐๐๐ บาท แต่นายดำ ไม่มีเงิน นายดำจึงไปขอยืมเงินจากนายแดง โดยตกลงจะใช้คืนภายใน ๑ ปี นับตั้งแต่วันที่กู้ยืม ดังนั้นเมื่อครบกำหนด ๑ ปีแล้ว นายดำ (ผู้กู้) ต้องใช้ เงินคืนให้แก่นายแดง
๒. ดอกเบี้ย
ในการกู้ยืมเงินกันนี้ เพื่อป้องกันมิให้นายทุนบีบบังคับคนจน กฎหมายจึงได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดที่ผู้ให้กู้สามารถเรียกได้ ว่าต้อง ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี คือร้อยละ ๑.๒๕ ต่อเดือน (เว้นแต่เป็นการกู้ยืม เงินจากบริษัทเงินทุนหรือธนาคาร ซึ่งสามารถเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราดังกล่าว ได้ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน) ถ้าเรียกดอกเบี้ย เกินอัตราดังกล่าวถือว่าข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยนั้นเป็นอันเสียไปทั้งหมด คือ ไม่ต้องมีการใช้ดอกเบี้ยกันเลยและผู้ให้กู้อาจมีความผิดทางอาญาฐานเรียก ดอกเบี้ยเกินอัตราด้วย คือ อาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับ ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗๕
ในกรณีการกู้ยืมเงินจากบริษัทเงินทุนหรือธนาคาร ซึ่งบริษัทเงินทุนหรือธนาคารมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น เมื่อปรากฏว่าผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้แล้วบริษัทเงินทุนหรือธนาคารได้ดำเนินคดีกับผู้กู้ยืม หากผู้กู้ยืมต่อสู้คดีว่าดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้เรียกจากผู้กู้ในกรณีผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้เป็นเบี้ยปรับที่กำหนดไว้สูงเกินไป ถ้าศาลเห็นด้วยว่าเป็นเบี้ยปรับและศาลเห็นสมควรศาลก็ลดลงได้ ตัวอย่างเช่น นาย ก. กู้ยืมเงินจากธนาคาร จำนวน 1,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 11.75 ต่อปีหรือร้อยละ 16 ต่อปี ผู้กู้ตกลงผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนให้แก่ผู้ให้กู้ทุกเดือน เดือนละ 25,000 บาท หากผิดนัดชำระงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด ผู้กู้ตกลงชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดให้ ธนาคารพาณิชย์เรียกจากลูกค้าได้ ถ้าหากนาย ก. ผิดนัดชำระงวดใดงวดหนึ่ง ผล คือ นาย ก. ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อธนาคารฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากนาย ก. อัตราร้อยละ 19 ต่อปี เช่นนี้ถ้าศาลเห็นว่าดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดถือเป็นเบี้ยปรับ และหากศาลเห็นสมควรอาจลดลงได้ ซึ่งอาจกำหนดให้นาย ก. จ่ายให้แก่ธนาคารในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี หรือเกินกว่านี้ แต่ไม่ถึงร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซึ่งต่างจากการกู้ยืมเงินจากบุคคลธรรมดา หากกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 15 ต่อปี ศาลจะใช้ดุลพินิจลดลงไม่ได้
๓. หลักฐานการกู้ยืม
ในการตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินนั้น ถ้าหากว่ากู้ยืมกันเป็นจำนวนเงิน เล็กน้อยไม่เกิน ๕๐ บาท กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ แสดงถึงการกู้ยืมหรือทำสัญญาไว้ต่อกัน เช่น ยืมเงิน ๒๐ บาท หรือ ๓๐ บาทแล้วเพียงแต่พูดจาตกลงกันก็พอ แต่ถ้าหากว่ากู้ยืมเป็นจำนวนเกินกว่า ๕๐ บาท ต้องทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือหรือทำ หนังสือสัญญากู้ ไว้ต่อกัน เพื่อจะได้ใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญา ในหลักฐานแห่งการกู้เป็นหนังสือดังกล่าวนี้ต้องมีข้อความแสดงว่าได้กู้ยืม เงินเป็นจำนวนเท่าใด มีกำหนดใช้คืนเมื่อใดและที่สำคัญจะต้องมีการลงลายมือชื่อผู้กู้
ตัวอย่าง หลักฐานการกู้ยืมเงินข้าพเจ้า นายดำ ได้กู้ยืมเงินจากนายสมศักดิ์เป็นจำนวน ๓,๐๐๐ บาท (สามพันบาทถ้วน) เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๐ มีกำหนดใช้คืนภายใน ๑ ปี ดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี
ลงชื่อ ดำ ผู้กู้
หากว่าในขณะกู้ยืมเงินกันแต่มีการตกลงรับเอาสิ่งของแทนจำนวนเงิน ที่กู้ยืมกันนั้น ต้องคิดราคาของตลาดของสิ่งนั้นเป็นจำนวนเงินที่กู้จริง+ริงนั้น เช่น มีการตกลงกู้ยืมเงินกัน ๕๐๐ บาท แต่มีการตกลงให้รับข้าวสารแทน ๒ กระสอบ ซึ่งในขณะนั้นข้าวสารกระสอบละ ๑๕๐ บาท ดังนั้น เราถือว่า มีการกู้ยืมเงินกันจริงเพียง ๓๐๐ บาทเท่านั้น
๔. อายุความ

การฟ้องร้องเรียกเงินตามสัญญากู้จะต้องกระทำภายในกำหนดอายุ ความ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องฟ้องภายใน ๑๐ ปีนับแต่วันที่ถึง กำหนดชำระเงินคืน
ตัวอย่าง แดง กู้ยืมเงิน ดำ เมื่อ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๐ จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท เป็นเวลา ๑ ปี ดังนั้นหนี้รายนี้ถึงกำหนดในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๑ ผู้ให้กู้ต้องฟ้องเรียก เงินที่กู้ยืมคืน ภายใน ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๑
๕. ข้อควรระมัดระวังในการกู้ยืม
(๑) อย่าได้ลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าเป็นอันขาด
(๒) อย่าได้นำโฉนดไปให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน
(๓) จะต้องนับเงินให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา
(๔) ผู้ยืมจะต้องเขียนจำนวนเงินเป็นตัวหนังสือด้วย
(๕) สัญญาที่กู้ต้องทำอย่างน้อย ๒ ฉบับ โดยให้ผู้กู้ยึดถือไว้ฉบับหนึ่ง และให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้อีกฉบับหนึ่ง
(๖) ในสัญญากู้ควรมีพยานฝ่ายผู้กู้ลงลายมือชื่อเป็นพยานอย่างน้อย ๑ คน
๖. ข้อปฏิบัติในการชำระเงิน
เมื่อผู้กู้นำเงินไปชำระไม่ว่าจะเป็นการชำระทั้งหมดหรือบางส่วนก็ตาม ผู้กู้ควรทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ มิฉะนั้นจะอ้างยันผู้ให้กู้ว่าชำระเงินกู้ ให้เขาคืนแล้วไม่ได้
สิ่งที่ผู้กู้ควรกระทำเมื่อชำระเงิน คือ

(๑) รับใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือที่มีข้อความว่า ได้ชำระเงินที่กู้มาแล้วทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนและมีลายเซ็นผู้ให้กู้กำกับไว้ด้วย

ตัวอย่าง ข้าพเจ้า นายสมศักดิ์ ร่ำรวยทรัพย์ ได้รับเงินคืนจากนายดำ เกิดมาก ผู้กู้เป็นจำนวน ๕,๐๐๐ บาท
ลงชื่อ สมศักดิ์ ร่ำรวยทรัพย์ ผู้ให้กู้
๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๐

(๒) รับหนังสือสัญญากู้เงินที่ได้ทำไว้แก่ผู้ให้กู้นมาในกรณีที่ชำระเงินครบตามจำนวนเงินที่กู้
(๓) มีการบันทึกลงในสัญญากู้ว่าได้นำเงินมาชำระแล้วเท่าไรและให้ ผู้ให้กู้เซ็นชื่อกำกับไว้ ผู้ให้กู้ต้องเซ็นชื่อกำกับไว้ทุกครั้งที่มีการชำระเงิน จึงจะอ้างยันได้ว่าได้ชำระเงินไปแล้ว


ค้ำประกัน
จำนอง (ทรัพย์สินที่จำนองได้,ข้อควรระมัดระวังในการจำนอง)
จำนำ
ซื้อขาย (หลักในการทำสัญญา, วิธีการทำสัญญา,หน้าที่และความรับผิดชอบของคู่สัญญา)
ขายฝาก (ทรัพย์สินที่ขายฝากได้,แบบของสัญญาขายฝาก,สินไถ่, กำหนดเวลาการไถ่)
เช่าทรัพย์ (สัญญาเช่าทรัพย์, เช่าช่วง, สัญญาต่างตอบแทน,การสิ้นสุดแห่งสัญญาเช่า)
เช่าซื้อ (แบบของสัญญาเช่าซื้อ,สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาเช่าซื้อ)