วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับการข่มขืนผู้อื่น
นาย ฉิ่งได้จดทะเบียนสมรสกับนางฉาบ ต่อมาปรากฏว่านางฉาบได้ย้ายไปทำงานต่างจังหวัด เป็นระยะเวลา 3 เดือน หลังจากนางฉาบกลับมาต้องการร่วมประเวณีกับนายฉิ่ง นายฉิ่งไม่ยินยอมเพราะอ้างว่าเพิ่งกลับมาจากทำงานและต้องเร่งทำงานอีกเยอะ นางฉาบคิดว่านายฉิ่งไปมีหญิงอื่นจึงใช้อาวุธปืนบังคับให้นายฉิ่งสามีของตน หันหลังและได้ใช้อวัยวะเพศเทียมสอดใส่เข้าไปทางทวารหนักของนายฉิ่งแต่อวัยวะ เพศเทียมได้เข้าไปยังทวารหนักของนายฉาบเพียงครึ่งเดียว อยากทราบว่านางฉิ่งมีความผิดอาญาฐานใด 1) ข่มขืนผู้อื่น 2) พยายามข่มขืนผู้อื่น 3) กระทำอนาจารผู้อื่น 4) ไม่มีความผิด
ตอบข้อ ข่มขืนผู้อื่น
"ข่มขืนกระทำชำเรา" ที่ได้แก้ไขใหม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไปโดยกฎหมายใหม่นี้
* มุ่งให้ความคุ้มครองบุคคลทุกเพศ
o ชาย ข่มขืน หญิง ก็ผิด
o หญิง ข่มขืน ชาย ก็ผิด
o พวกชอบไม้ป่าเดียวกัน เขาก็คุ้มครองนะ
+ ชาย ข่มขืน ชาย ก็ผิด
+ หญิง ข่มขืน หญิง ก็ผิด
* คุ้มครอง สามี หรือ ภริยา ไม่ให้ถูกล่วงละเมิดทางเพศจากคู่สมรส
o สามี ข่มขืน ภริยา ก็ผิด
o ภริยา ข่มขืน สามี ก็ผิด
* การกระทำชำเราไม่จำต้องทำต่อ อวัยวะเพศ อย่างเดียวแม้จะทำกับ
o ทวารหนัก หรือ
o ช่องปาก ก็ผิด
* ที่สำคัญ ใช้ สิ่งอื่นใด กระทำกับ อวัยวะเพศ หรือ ทวารหนัก ก็โดนด้วย คำว่าสิ่งอื่นใดนี่ก็กว้างมากเลย
o ใช้ปากก็ผิดข่มขืนนะ (ออรัลเซ็กซ์)
o สิ่งเทียมอวัยวะเพศ (เซ็กซ์ทอยส์) ทั้งหลาย
o นิ้วมือ นิ้วเท้า (ระวังนะใช้นิ้วจิ้มตูดใครเข้า ติดคุกตายเลย ฮ่าฮ่า)
o เครื่องเขียนต่างๆ
o ดอกไม้ ธูป เทียน
o ขวดยาดม ยาหอม ยาหม่อง
o ฯลฯ
ความผิดฐานโทรมหญิง และโทรมเด็กหญิง ยังอยู่
ความกังวลและกังขาของนักกฎหมายอาญาหลายท่านต่อความผิดฐานโทรมหญิง และโทรมเด็กหญิง ว่าจะไม่มีที่บังคับใช้นั้น ความกังวลและกังขาตรงนี้ก็หมดไป เพราะได้แก้ไขมาตรา ๒๗๗ ทวิ และมาตรา ๒๗๗ ตรีตามไปด้วยแล้ว (พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ.๒๕๕๐) บทวิจารณ์จากนักกฎหมายอาญา
กฎหมาย ข่มขืนนี้ มีนักกฎหมายอาญาอย่างอาจารย์ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้วิจารณ์ไว้ (มติชนรายวัน, ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐) ที่น่าสนใจ ดังนี้
* ข่มขืนภริยาเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ไม่มีความผิด ตาม กฎหมาย ข่มขืนภริยาที่อายุเกิน ๑๕ ปีแล้ว เป็นความผิด สามีอาจติดคุก แต่หากข่มขืนภริยาเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ไม่มีความผิด เพราะมาตรา ๒๗๗ ที่แก้ไขใหม่ยังคงมีข้อความว่า "ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม..." แสดงว่าหากข่มขืนเด็กที่เป็นภริยาตนแล้ว ผู้กระทำไม่มีความผิด ตกลงข่มขืนเมียอายุกว่า ๑๘ ติดคุก ข่มขืนเมียเด็กต่ำกว่า ๑๕ ไม่มีความผิด ขอบคุณท่านผู้หญิงและคุณผู้หญิงที่สนับสนุนให้มีเมียเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี เพื่อข่มขืนกระทำชำเราแล้วจะไม่เป็นความผิด
* เด็กขอร้องให้ช่วยทำ ไม่มีความผิด คำว่า "เพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ" ที่เพิ่มเข้าไปใหม่ แสดงว่าหากเป็นการทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้เสียหายเอง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิด ดัง นั้น หากจำเลยต่อสู้ว่าเด็ก "ขอร้อง" ให้ช่วยทำให้ ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดตามความหมายนี้ เพราะไม่ได้ทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำเอง แต่ทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้เสียหาย มาตรา ๒๗๗ ก็จะใช้คุ้มครองเด็กไม่ได้ หรือใช้ได้ลำบากขึ้น ก็เป็นอีกกฎหมายหนึ่งที่ควรรู้เอาไว้ แต่เดิมอาจเป็นได้แค่ความผิดฐาน "อนาจาร" แต่บัดนี้ได้เปลี่ยนเป็นความผิดฐาน "ข่มขืนกระทำชำเรา" เสียแล้วและมีโทษหนักด้วยสิ และจะมีปัญหาในการบังคับใช้จริงหรือไม่ ก็ต้องติดตามดู.
มาตรา ๒๗๗ ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสามได้กระทำโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกัน อันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงหรือกระทำกับเด็กชายในลักษณะเดียวกันและเด็กนั้นไม่ยินยอม หรือได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต
ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกระทำโดยบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีกระทำต่อเด็กซึ่งมีอายุกว่าสิบสามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ทั้งสองฝ่ายสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยผู้กระทำความผิดนั้นไป
ไร้สาระนุกรม
ไร้สาระนุกรม หรือ อันไซโคลพีเดีย (Uncyclopedia) เป็นเว็บไซต์เลียนแบบสารานุกรมที่ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โดยเก็บรวบรวมเรื่องขำขันล้อเลียนสารานุกรมวิกิพีเดีย ก่อตั้งเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 โดย โจนาธาน หวง (Jonathan Huang)
ไร้สาระนุกรมเก็บข้อมูลไว้สองที่คือที่ วิเกีย ที่เป็นโฮสต์ให้บริการซอฟต์แวร์วิกิ เช่นในไร้สาระนุกรมอังกฤษ, ไร้สาระนุกรมสเปน, ไร้สาระนุกรมฝรั่งเศส เป็นต้น และที่ Carlb ได้แก่ไร้สาระนุกรมไทย, ไร้สาระนุกรมญี่ปุ่น เป็นต้น
ปัจจุบันไร้สาระนุกรมมีเนื้อหาประมาณ 100,000 บทความ ใน 50 ภาษา
สำหรับไร้สาระนุกรมภาษาไทยนั้น ได้รับการก่อตั้งในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2549 โดย ผู้ใช้ Ob the air
จุดประสงค์
จุดประสงค์ร่วมหลักๆของไร้สาระนุกรมทุกภาษา คือการเขียนเรื่องตลกขบขัน บิดเบือนเรื่องราวต่างๆออกจากข้อเท็จจริง
อย่างไรก็ตาม นโยบายในการเขียนของไร้สาระนุกรมแต่ละภาษานั้น ให้ยึดเอาตามความเหมาะสมของแต่ละภาษาเอง ไม่จำเป็นต้องฟังส่วนกลาง เช่นเดียวกับนโยบายในการเขียนของวิกิพีเดีย
สำหรับไร้สาระนุกรมไทยนั้น นอกเหนือจากการสร้างความตลกขำขันแล้ว ยังมองตัวเองในฐานะฐานข้อมูลที่สามารถทดแทนสารานุกรม ในแง่ของการสะท้อนภาพอารมณ์ หรือการให้ข้อมูลเชิงประสบการณ์อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ไร้สาระนุกรม ไม่ยอมรับการใช้คำหยาบด้วยความจงใจ เว้นแต่จะเป็นไปเพื่อบทความ ไม่ยอมรับการด่าทอ และไม่ยอมรับงานเขียนอันมีสาระหนักสมอง ซึ่งสมควรจะอยู่ในวิกิพีเดีย
ประวัติไร้สาระนุกรม
ไร้สาระนุกรมเริ่มต้นครั้งแรกในนาม อันไซโคลพีเดีย หรือไร้สาระนุกรมภาคภาษาอังกฤษ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ปัจจุบันไร้สาระนุกรมใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ BY-NC-SA
เนื้อหาในไร้สาระนุกรม
เนื้อหาส่วนใหญ่ในไร้สาระนุกรม มีลักษณะเป็นเรื่องแต่งขึ้น เรื่องล้อเลียน และเรื่องขำขัน ตัวอย่างของข้อความที่ปรากฏในเว็บไร้สาระนุกรม ในหน้าบทความประเทศไทย เช่น
"เครื่องดื่มประจำชาติไทยคือชาเขียว"
"ซ้อเจ็ดเป็นผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในวงการบันเทิงเมืองไทย"
"ชาวเขาที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประเทศไทยคือ ชาวเขาเผ่าแม้ว"
"เพลย์สเตชันมีชื่อไทยว่าเครื่องเล่นวินนิง"
"กามมิกามเสี้ยนคือกลุ่มศิลปินที่ล้อเลียนกามิกาเซ่ (ค่ายเพลง)"
"Wonder Gaysเป็นศิลปินล้อเลียนวันเดอร์เกิร์ลส์"
"ธรรมเกรียนคือบทความที่ล้อเลียนธรรมกาย"
"ตาลิ้มเป็นความที่ล้อเลียนสนธิ ลิ้มทองกุล
"แฮร์รี่ พ่อตายเป็นนิยายล้อเลียนแฮร์รี่ พอตเตอร์
"ขบวนการฟัดสู้เป็ขบวนการล้อเลียนขบวนการนักสู้
"มาสค์ไฮดราเป็นฮีโร่ล้อเลียนมาสค์ไรเดอร์ ซีรีส์
"เค-ออทิสติกเป็นศิลปินที่ล้อเลียนเค-โอติค
นอกจากนี้ ในไร้สาระนุกรมไทยมีบทความล้อเลียนการเมือง โดยคุณสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ถูกกล่าวถึงในเชิงล้อเลียนมากที่สุด
โครงการของไร้สาระนุกรม
โครงการย่อยของไร้สาระนุกรมในแต่ละภาษาจะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าไร้สาระนุกรมของภาษานั้นๆ จะสร้างโครงการอะไรขึ้นมาบ้าง โดยโครงการย่อยของไร้สาระนุกรมบางโครงการอาจเป็นการล้อเลียนหรือทำเลียนแบบโครงการย่อยของวิกิพีเดีย
นโยบายไร้สาระนุกรมไทย
โดยเริ่มต้นนั้น ไร้สาระนุกรมลอกเลียนแบบและดัดแปลงนโยบายของวิกิพีเดียมาเป็นพื้นฐาน หากแต่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างนโยบายที่เป็นเอกเทศออกไปจากวิกิพีเดียในภายหลัง เนื่องจากว่าลักษณะบทความที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
อะไรที่ไม่ใช่ไร้สาระนุกรม
นโยบาย "อะไรที่ไม่ใช่ไร้สาระนุกรม" เป็นนโยบายกลางที่เป็นมาตราฐานกลางของไร้สาระนุกรม เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ถึงแนวทางโดยทั่วๆไปในการเขียนบทความในไร้สาระนุกรม อีกทั้งยังเป็นหลักเกณฑ์ในการตัดสินว่าบทความนั้นๆ สมควรจะคงอยู่ในไร้สาระนุกรมหรือไม่อีกด้วย ซึ่งโดยมีหลักการหลักๆ ดังนี้
-งานเขียนที่ไม่ต้องการให้คนอื่นแก้ไข
-งานเขียนที่มีคำพูดและอารมณ์ของผู้เขียนเข้าไปมีส่วนร่วมกับบทความ
-งานเขียนที่มีเพื่อด่า ดูหมิ่น เหยียดหยาม หรือ หมิ่นประมาท ทั้งจงใจและไม่จงใจ
-งานเขียนที่มีลักษณะเสื่อม
-งานเขียนที่มีไว้เพื่อใครคนหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว
-งานเขียนที่ไม่มีเนื้อหา
-งานเขียนอันมีสาระ
บทความใดๆ อันมีลักษณะพ้องกับข้างต้น ย่อมไม่ถือว่าเป็นบทความอันเหมาะสมที่จะอยู่ในไร้สาระนุกรม และจะถูกแจ้งลบถ้ามีการพบเจอ
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว ผู้ดูแลของไร้สาระนุกรม มักจะยอมให้บทความถูกแจ้งลบไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อให้โอกาสผู้เขียนได้มีโอกาสแก้ไขงานของตน ซึ่งเมื่อหลังจากพ้นช่วงเวลานี้ไปแล้ว หากยังไม่มีการแก้ไขอันเป็นที่น่าพอใจ บทความนั้นๆก็จะถูกลบไป
ไร้สาระนุกรม:การล้อเลียนสิ่งที่มีอยู่จริง
ปัญหาหลักของไร้สาระนุกรมคือการล้อเลียนสิ่งที่มีอยู่จริง ซึ่งมักจะเป็นส่วนที่ก่อปัญหาให้ไร้สาระนุกรมอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะบทความดารานักร้อง ซึ่งมักจะก่อกวน (ในไร้สาระนุกรมเรียกว่า"การก่อเกรียน") โดยผู้ใช้ที่แสดงตนเป็นเพศหญิง ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า "ติ่งหู"ซึ่งมักจะเข้ามาในลักษณะของการด่าทอเสียๆหายๆ เนื่องจากไม่เข้าใจว่าบทความของไร้สาระนุกรมนั้น แก้ไขได้ และเขียนโดยใครก็ได้ ซึ่งผู้ที่เริ่มต้นเขียนนั้นมักเป็นผู้ที่ไม่ชอบดารานักร้องเหล่านั้นนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาข้างต้นสามารถแก้ไขได้โดยแฟนคลับที่เข้าใจในนโยบาย และลงมือเขียนดารานักร้องที่ตนชอบด้วยตัวเอง
นอกจากนี้ บทความที่ข้องเกี่ยวกับการเมือง (มักจะถูกเรียกในไร้สาระนุกรมว่า "การเมีย") บางครั้งก็ถูกเป็นเป้าการก่อกวน หลายครั้งที่มีการเขียนถึงในลักษณะด่าทอ หรือรุนแรงเกินขอบเขต ดังนั้น จึงกลายเป็นหัวข้อเจรจาสาทกกันในไร้สาระนุกรมเอง จนกระทั่งได้ข้อสรุปออกมาเป็นนโยบายว่าด้วยการล้อเลียนสิ่งที่มีอยู่จริง
ไร้ชีวประวัติ
โครงการไร้ชีวประวัติ เป็นโครงการที่เปิดให้คนทั่วไปสามารถเขียนบทความถึงใครก็ได้ที่ไม่มีชื่อเสียงโด่งดัง หรือไม่เป็นที่รู้จักมากพอในสังคม ทั้งสังคมโลกแห่งความจริงและสังคมอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม เนื้อหาของบทความนั้น จะต้องตามนโยบายหลักของไร้สาระนุกรม มิใช่นึกจะเขียนด่าทอเสียๆหายๆผู้ใดก็ได้
ไร้สาระนุกรมในภาษาต่างๆ
ไร้สาระนุกรมไทย
ไร้สาระนุกรมภาษาไทย เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2549 ในลักษณะของหน้าหลักย่อยในไร้สาระนุกรมภาษาอังกฤษโดยในครั้งนั้น ผู้เริ่มต้นจัดทำได้ตั้งชื่อภาษาไทยของอันไซโคลพีเดียว่า "ไร้สาระนุกรม" และหลังจากนั้นได้ไม่นาน ทางอันไซโคลพีเดียได้จัดแยกออกมาเป็นไร้สาระนุกรมภาคภาษาไทย โดยนำประวัติการแก้ไขของหน้าหลักย่อยเดิมมารวมไว้ด้วย
การถูกลอกเลียน และการถูกอ้างอิง
ครั้งหนึ่ง ไร้สาระนุกรมไทยเคยถูกลอกเลียนแบบโดย Investment Wiki ซึ่งลอกซอร์ซโค้ดของไร้สาระนุกรมไป
นอกจากนี้ ไร้สาระนุกรมยังเคยถูกอ้างอิงถึงคำว่า "แอ๊บแบ๊ว" ในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันที่ 27 ก.ค. 2550 ในหัวข้อ "ไร้สาระ" อีกด้วย และหนังสือพิมพ์มติชนเขียนถึงไร้สาระนุกรมว่า"น่าจะ"เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น
เกร็ดเล็กๆน้อยๆ
-ผู้ใช้:Jutiphanเป็นผู้ใช้คนเดียวที่เป็นผู้ดูแลทั้งวิกิพีเดียและไร้สาระนุกรม
-ผู้ใช้วิกิพีเดียหลายคน มีบัญชีผู้ใช้ในไร้สาระนุกรม และผู้ใช้ในไร้สาระนุกรมส่วนใหญ่ ก็มีบัญชีผู้ใช้ในวิกิพีเดียเช่นกัน
-ผู้ใช้:Al เป็นผู้ใช้คนเดียวของไร้สาระนุกรมที่เปิดเผยตัวเองว่าชื่นชมในตัวคุณทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ชื่นชมในตัวท่าน อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ Al ก็ไม่เคยใช้ความชอบทางการเมืองมาตัดสินใคร ถึงแม้ว่าจะมีอำนาจเป็นผู้ดูแลก็ตามที
-วิกิไทยฟอรั่ม คือแหล่งซ่องสุมร่วมของชาวไร้สาระนุกรม และวิกิพีเดียไทย โดยมีผู้ใช้:Manop (ที่ชาวไร้สาระล้อเลียนว่า "พระเจ้าเหา")เป็นเจ้าของ
วิกิไทยฟอรั่ม มีชื่อเรียกเล่นๆว่า "รังลับพระเจ้าเหา"
-ไร้สาระนุกรมมีบอตของผู้ใช้:Jutiphanอยู่หนึ่งตัวชื่อว่าไอบอต เป็นบอตฝาแฝดกับuser:BotKungในวิกิพีเดีย แต่ถูกเจ้าของอัญเชิญมาไว้ที่ไร้สาระนุกรม แต่ด้วยความที่ทำงานผิดพลาดบ่อย จึงได้รับฉายาว่า "แว้งกัด"
-ในไร้สาระนุกรม คำว่า " พระ " จะเขียนว่า " บร๊ะ "
-ไร้สาระนุกรม มักมีเรื่องแต่งจากเรื่องจริงเป็นส่วนใหญ่ หรือบางเรื่องที่ควรจะมีในวิกิพีเดียกลับไม่มี
อ้างอิง
1. ^ Central Wikia, 2550,Uncyclopedia joins Wikia, ดูเมื่อ 18 มิถุนายน2551,<http://www.wikia.com/wiki/Uncyclopedia_joins_Wikia>
2. ^ 2.0 2.1 2.2 ไร้สาระนุกรม:สนทนาปัญหาโลกแตก
3. ^ Main Page - Uncyclopaedia
4. ^ 4.0 4.1 4.2 ไร้สาระนุกรม:อะไรที่ไม่ใช่ไร้สาระนุกรม, 2551, อ่านเมื่อ 18 มิถุนายน 2551, <http://th.uncyclopedia.info/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1:%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1>
5. ^ Jimmy Wales, 2546, จดหมายอิเลกทรอนิกส์ เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2546, <http://lists.wikimedia.org/pipermail/wikien-l/2003-November/008096.html>
6. ^ ไร้สาระนุกรม, 2551, หมวดหมู่:สิ่งที่ชาววิเกรียนฯไม่มีวันทำได้, อ่านเมื่อ 18 มิถุนายน 2551, http://th.uncyclopedia.info/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88:%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AF%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89
7. ^ 7.0 7.1 ไร้สาระนุกรม:การล้อเลียนสิ่งที่มีอยู่จริง
8. ^ การก่อเกรียน
9. ^ ติ่งหู
10. ^ บอร์ด:ว่าด้วยการเล่นหิ้ง
11. ^ Uncyclopedia - Revision history of "Babel:Th/หน้าหลัก"
12. ^ ไร้สาระนุกรม - ประวัติการแก้ไขหน้า "หน้าหลัก"
13. ^ Wildlord, 2551, บอร์ด:เออนะ มาก็อปใครไม่ก็อป, อ่านเมื่อ 23 มิถุนายน 2551, <http://th.uncyclopedia.info/wiki/บอร์ด:เออนะ_มาก็อปใครไม่ก็อป>
14. ^ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, Digital News, รายการฉบับที่ 30, <http://www.lib.kmutt.ac.th/news/digital.jsp?n_id=119>
15. ^ มติชนออนไลน์, "พบเว็บไซต์"ไร้สาระนุกรมเสรี"ฮิตในหมู่วัยรุ่น ดัดแปลงศัพท์ "ใหม่" โพสต์ข้อความผิดเพี้ยนจากพจนานุกรม", 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
16. ^ วิกิพีเดีย:ผู้ดูแลระบบ
17. ^ รายชื่อผู้ดูแลระบบของไร้สาระนุกรม
18. ^ พระเจ้าเหา
19 ^ 19.0 19.1 ผู้ใช้:ไอบอต
20. ^ บอร์ด:ไอบอต เราบอตเพื่อกูเอง!
แหล่งข้อมูลอื่น
เว็บไซต์ไร้สาระนุกรม รวมทุกภาษา
ไร้สาระนุกรมไทย
บทความแนะนำตัวเองของไร้สาระนุกรม
ไร้สาระนุกรม:เกี่ยวกับ ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1".
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจดทะเบียนต่าง ๆ
ไปแจ้งที่ไหน?
- ถ้าท่านอยู่ในเขตเทศบาล ต้องไปแจ้งที่สำนักงานเทศบาล
- ถ้าท่านอยู่ตามหมู่บ้าน ต้องไปแจ้งที่ผู้ช่วยนายทะเบียนประจำหมู่บ้าน หรือที่ที่ว่าการอำเภอก็ได้
- ต้องแจ้งเกิดภายใน ๑๕ วัน แต่ถ้ามีเหตุจำเป็น สามารถแจ้งได้ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันเกิด
นำหลักฐานอะไรไปบ้าง ?
- นำสำเนาทะเบียนบ้านของท่านไปด้วย
เสียค่าธรรมเนียมกี่บาท ?
- ไม่ต้องเสีย
๒. แจ้งคนตาย
ไปแจ้งที่ไหน?
- หากคนตายในเขตเทศบาล ต้องไปแจ้งที่สำนักงานเทศบาล
- หากคนตายในหมู่บ้าน ต้องไปแจ้งที่ผู้ช่วยนายทะเบียนประจำหมู่บ้าน หรือที่ที่ว่าการอำเภอก็ได้
- ต้องไปแจ้งภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาตายหรือพบศพ แต่ถ้าท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก อาจแจ้งได้ภายใน ๗ วัน
นำหลักฐานอะไรไปบ้าง ?
- นำสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตายไปด้วย
เสียค่าธรรมเนียมกี่บาท ?
- ไม่ต้องเสีย
๓. แจ้งย้ายที่อยู่ไปอำเภออื่น กรณีแจ้งก่อนออกจากบ้าน
ไปแจ้งที่ไหน?
- ถ้าท่านอยู่ในเขตเทศบาล ต้องไปแจ้งที่สำนักงานเทศบาล แล้วรอใบแจ้งย้ายถือไปเองด้วย แล้วนำไปมอบสำนักงานเทศบาลที่ท่านไปอยู่ใหม่ หรือที่ผู้ช่วยนายทะเบียนประจำหมู่บ้านที่ท่านไปอยู่ใหม่
- ถ้าท่านอยู่ตามหมู่บ้าน ต้องไปแจ้งที่ที่ว่าการอำเภอ แล้วขอรับใบแจ้งย้ายถือไปเองด้วย แล้วนำไปมอบสำนักงานเทศบาลที่ท่านไปอยู่ใหม่ หรือที่ผู้ช่วยนายทะเบียนประจำหมู่บ้านที่ท่านไปอยู่ใหม่
นำหลักฐานอะไรไปบ้าง ?
- นำสำเนาทะเบียนบ้าน บ้านเดิมของท่านก่อนย้ายออกไปด้วย
- นำบัตรประจำตัวประชาชนของท่านไปด้วย
- นำบัตรประจำตัวประชาชนนองเจ้าบ้านไปด้วย กรณีที่ท่านมิได้เป็นเจ้าบ้านในบ้านก่อนย้ายออก
- นำหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้านให้ท่านไปแจ้งแทน กรณีท่านไปแจ้งย้ายแทนคนอื่น และท่านไม่มีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านที่ขอย้ายออก
เสียค่าธรรมเนียมกี่บาท ?
- ไม่ต้องเสีย
๔. แจ้งย้ายที่อยู่ กรณีแจ้งหลังจากไปอยู่บ้านใหม่ในอำเภออื่นแล้ว
ไปแจ้งที่ไหน?
- ถ้าท่านอยู่ในเขตเทศบาล ต้องไปแจ้งที่สำนักงานเทศบาล บอกเจ้าหน้าที่ว่า " ขอแจ้งย้ายปลายทาง "
- ถ้าที่อยู่ใหม่อยู่ในหมู่บ้าน ท่านต้องไปแจ้งที่ที่ว่าการอำเภอ บอกเจ้าหน้าที่ว่า " ขอแจ้งย้ายปลายทาง "
นำหลักฐานอะไรไปบ้าง ?
-นำสำเนาทะเบียนบ้าน บ้านใหม่ที่ท่านไปอยู่ด้วย
- นำบัตรประจำตัวประชาชนของท่านไปด้วย
- นำบัตรประจำตัวของเจ้าบ้านไปด้วย กรณีที่ท่านมิได้เป็นเจ้าบ้านในบ้านที่ท่านเข้าไปอยู่ใหม่
- นำหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้านให้ท่านไปแจ้งแทน กรณีท่านไปแจ้งย้ายแทนคนอื่น
เสียค่าธรรมเนียมกี่บาท ?
- เสียค่าแจ้งย้ายปลายทาง ๕ บาท
๕. แจ้งย้ายที่อยู่ กรณีย้ายเข้าย้ายออกภายในอำเภอเดียวกัน
ไปแจ้งที่ไหน?
- ถ้าอยู่ในเขตเทศบาล ท่านต้องไปแจ้งที่สำนักงานเทศบาล
- ถ้าอยู่ในหมู่บ้าน ท่านต้องไปแจ้งที่ที่ว่าการอำเภอ บอกเจ้าหน้าที่ว่า หรือที่ผู้ช่วยนายทะเบียนประจำหมู่บ้าน
นำหลักฐานอะไรไปบ้าง ?
- นำสำเนาทะเบียนบ้าน ทั้งบ้านเดิมและบ้านที่เข้าอยู่ใหม่ไปด้วย
-นำบัตรประจำตัวประชาชนของท่านไปด้วย
- นำบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านไปด้วย กรณีท่านมิได้เป็นเจ้าบ้าน ไม่ว่าบ้านเดิมหรือบ้านเข้าอยู่ใหม่
- นำหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้านให้ท่านไปแจ้งแทน กรณีท่านไปแจ้งเข้า -ย้ายออกแทนคนอื่น
เสียค่าธรรมเนียมกี่บาท ?
- ไม่ต้องเสีย
๖. แจ้งสร้างบ้านใหม่ แจ้งขอเลขบ้าน แจ้งรื้อถอนบ้าน
ไปแจ้งที่ไหน?
- อยู่ในเขตเทศบาล ต้องไปแจ้งที่สำนักงานเทศบาล
- อยู่ในหมู่บ้าน ต้องไปแจ้งที่ผู้ช่วยนายทะเบียนประจำหมู่บ้าน หรือไปแจ้งที่ที่ว่าการอำเภอ
นำหลักฐานอะไรไปบ้าง ?
- นำบัตรประจำตัวประชาชนของท่านไปด้วย
- นำใบอนุญาติปลูกบ้าน ใบอนุญาตรื้อถอน กรณีในเขตเทศบาล
เสียค่าธรรมเนียมกี่บาท ?
- ไม่ต้องเสีย
๗. ขอทำบัตรประจำตัวประชาชน กรณีอายุครบ ๑๕ ปี
ไปแจ้งที่ไหน?
- ไปที่ที่ว่าการอำเภอ ที่ท่านอยู่
นำหลักฐานอะไรไปบ้าง ?
- นำสำเนาทะเบียนบ้านที่ท่านมีชื่ออยู่ไปด้วย
เสียค่าธรรมเนียมกี่บาท ?
- ไม่ต้องเสีย
๘. ขอทำบัตรประจำตัวประชาชน กรณีบัตรหมดอายุ หรือชำรุดเสียหาย
ไปแจ้งที่ไหน?
- ไปที่ที่ว่าการอำเภอ ที่ท่านอยู่
นำหลักฐานอะไรไปบ้าง ?
- นำสำเนาทะเบียนบ้านที่ท่านมีชื่ออยู่
- สำเนาแจ้งความบัตรหายที่ที่ว่าการ
- นำบัตรเดิม กรณีบัตรหมดอายุ หรือบัตรชำรุด
- นำหนังสือรับรองว่าบัตรหายจริงจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือจากเทศบาล กรณีบัตรหาย
- กรณีเป็นชายให้นำหลักฐานทางทหารไปด้วย เช่น ส.ด. ๙, ส.ด. ๘, ส.ด. ๔๓
เสียค่าธรรมเนียมกี่บาท ?
- ไม่ต้องเสีย ถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจสอบบัตรทำครั้งก่อน พบว่ากำหนดอายุไม่เกิน ๖๐ วัน
- เสียค่าปรับ ๑๐ - ๒๐ บาท ถ้าตรวจสอบบัตรทำครั้งก่อนพบว่าหมดอายุเกินกว่า ๖๐ วัน
๙. ขอเปลี่ยนชื่อตัว
ไปแจ้งที่ไหน?
- ไปที่ที่ว่าการอำเภอ
นำหลักฐานอะไรไปบ้าง ?
- นำหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านที่ท่านมีชื่ออยู่
- นำบัตรประจำตัวประชาชนของท่านไปด้วย
เสียค่าธรรมเนียมกี่บาท ?
- ๒๕ บาท ( ถ้านักเรียนมีใบรับรองจากโรงเรียนไม่ต้องเสีย )
- ถ้าขอเปลี่ยนชื่อบุตรเกิดใหม่ภายใน ๖ เดือน นับแต่เกิดไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
๑๐. ขอเปลี่ยนชื่อสกุล หรือจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล
ไปแจ้งที่ไหน?
- ไปที่ที่ว่าการอำเภอ
นำหลักฐานอะไรไปบ้าง ?
- นำสำเนาทะเบียนบ้านที่ท่านมีชื่ออยู่
- นำบัตรประจำตัวประชาชนของท่านไปด้วย
เสียค่าธรรมเนียมกี่บาท ?
- ๕๐ บาท
๑๑. แจ้งขอเพิ่มชื่อในทะเบียน
ไปแจ้งที่ไหน?
- ถ้าอยู่ในเขตเทศบาล ต้องไปแจ้งที่สำนักงานเทศบาล
- ถ้าที่อยู่ในหมู่บ้าน ต้องไปแจ้งที่ที่ว่าการอำเภอ
นำหลักฐานอะไรไปบ้าง ?
กรณีขอเพิ่มชื่อเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
- บิดาหรือมารดาเด็กต้องไปแจ้งด้วยตนเอง
- หนังสือให้ถ้อยคำรับรองของผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน ถ้านำบุคคลเหล่านี้ไปด้วยพร้อม ๆ กันจะเร็วขึ้น
- หนังสือให้ถ้อยคำรับรองของผู้ทำคลอด
- หนังสือให้ถ้อยคำรับรองของเพื่อนบ้านอาวุโสใกล้เคียง ๒ ท่าน
- ทะเบียนนักเรียน ( ถ้ามี )กรณีขอเพิ่มชื่อผู้ทีบรรลุนิติภาวะแล้ว และเกิดหลัง พ.ศ. ๒๔๙๙
- เจ้าตัวผู้ต้องการเพิ่มชื่อต้องไปแจ้งด้วยตนเอง
- หนังสือให้ถ้อยคำรับรองของบิดามารดาของผู้แจ้ง ( ถ้ายังมีชีวิตอยู่ )
- หนังสือให้ถ้อยคำรับรองของผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน ถ้านำบุคคลเหล่านี้ไปด้วยพร้อม ๆ กันจะเร็วขึ้น
- หนังสือให้ถ้อยคำรับรองของผู้ทำคลอด
- หนังสือให้ถ้อยคำรับรองของเพื่อนบ้านอาวุโสใกล้เคียง ๒ ท่าน
- ทะเบียนนักเรียน ( ถ้ามี )กรณีเพิ่มชื่อผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และเกิดก่อน พ.ศ. ๒๔๙๙
- นำหลักฐานทุกอย่างเช่นเดียวกันกรณีผู้แจ้งเกิดหลัง พ.ศ. ๒๔๙๙ เว้นแต่ไม่ต้องมีหนังสือให้ถ้อยคำรับรองของผู้ทำคลอด
เสียค่าธรรมเนียมกี่บาท ?
- ไม่ต้องเสีย
๑๒. แจ้งขอขึ้นทะเบียนทหาร
ไปแจ้งที่ไหน?
- แจ้งไปที่ที่ว่าการอำเภอ ภูมิลำเนาบิดา
- มารดา หรือผู้ปกครองของท่าน เมื่อรู้ว่าท่านอายุครบ ๑๗ ปี
นำหลักฐานอะไรไปบ้าง ?
- นำสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อบิดา
- มารดาหรือผู้ปกครองของท่านอยู่
- นำบัตรประจำตัวประชาชนของท่าน
เสียค่าธรรมเนียมกี่บาท ?
- ไม่ต้องเสีย
๑๓. จดทะเบียนสมรส
ไปแจ้งที่ไหน?
- ไปที่ที่ว่าการอำเภอ ทั้งฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง
นำหลักฐานอะไรไปบ้าง ?
- บัตรประจำตัวประชาชนของทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง
- นำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองไปด้วย กรณีชาย หรือหญิงนั้นมีอายุไม่ครบ ๒๐ ปี หรือให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองทำหนังสือยินยอมมาก็ได้
เสียค่าธรรมเนียมกี่บาท ?
- ไม่ต้องเสีย
๑๔. ขอจดทะเบียนสมรสที่บ้าน
ไปแจ้งที่ไหน?
- คู่สมรส หรือผู้แทนไปยื่นขอที่ที่ว่าการอำเภอ
นำหลักฐานอะไรไปบ้าง ?
- บัตรประจำตัวประชาชนของทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง
- บิดา , มารดา ,ผู้ปกครอง ให้ความยินยอมกรณีฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายมีอายุไม่ครบ ๒๐ ปี
เสียค่าธรรมเนียมกี่บาท ?
- ๒๐๐ บาท พร้อมกับต้องจัดยานพาหนะรับ
- ส่ง นายทะเบียนด้วย
๑๕. ขอหย่าขาดจากการเป็นสามี - ภรรยากัน
ไปแจ้งที่ไหน?
- ไปที่ที่ว่าการอำเภอ กรณีทั้งสองฝ่ายยินยอมพร้อมใจกัน
-ไปที่ศาล กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมหย่า
นำหลักฐานอะไรไปบ้าง ?
- บัตรประจำตัวประชาชนของทั้ง ๒ ฝ่าย
- นำหลักฐานใบสำคัญการสมรสไปด้วย
เสียค่าธรรมเนียมกี่บาท ?
- ถ้าหย่าที่ที่ว่าการอำเภอ ไม่ต้องเสีย
- ถ้าหย่าโดยศาลสั่ง ต้องเสียค่าทนาย
๑๖. ขอคัดหรือรับรองทะเบียนบ้าน
ไปแจ้งที่ไหน?
- ไปที่ที่ว่าการอำเภอ
นำหลักฐานอะไรไปบ้าง ?
- นำสำเนาทะเบียนบ้านของท่านไปด้วย
เสียค่าธรรมเนียมกี่บาท ?
- ฉบับละ ๕ บาท
- ไม่ต้องเสีย ถ้าเป็นกรณีนำไปใช้เพื่อ การศึกษา,ข้ารับราชการทหาร,ขอสงเคราะห์ผู้มีบุตร, การจัดที่ดินเพื่ออยู่อาศัยของทางราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือการประกอบอาชีพกสิกรรม,เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ หน่วยงานรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
ข้อแนะนำในการติดต่อราชการที่อำเภอ
เมื่อมีปัญหาสงสัย ติดต่อสอบถามจากเจ้าหน้าที่ติดต่อสอบถามของอำเภอ
โดยปรกติแล้วอำเภอต่าง ๆ จะต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ติดต่อสอบถามของอำเภอโดยเฉพาะเพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้มาติดต่องานอำเภอ อำเภอจะตั้งโต๊ะติดต่อสอบถามไว้ในที่ซึ่งประชาชนสามารถมองเห็นได้เด่นชัด นับตั้งแต่ท่านย่างเท้าก้าวสู่ที่ว่าการอำเภอ ฉะนั้นถ้าท่านมีปัญหาข้อสงสัย เช่น ท่านไม่ทราบว่า งานที่ท่านจะมาติดต่อนั้นต้องไปติดต่อกับส่วนราชการใด หรือแผนกใด ท่านก็สามารถติดต่อสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่ติดต่อสอบถามของอำเภอ ซึ่งพร้อมแล้วที่จะให้ความกระจ่างแก่ท่านในเรื่องต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
๑. เอกสารที่ควรจะนำติดตัวไปด้วย
เมื่อท่านมีธุระที่จะต้องติดต่อกับอำเภอ ไม่ว่าจะไปติดต่อเรื่องอะไรก็ตาม เอกสารที่สำคัญที่ท่านต้องนำไปด้วยเสมอก็คือ บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน ) เพราะเอกสารทั้งสองประการดังกล่าว ทางราชการถือเป็นหลักฐานที่แสดงสถานภาพของประชาชนที่มีความสำคัญที่สุด ถ้าท่านไม่นำเอกสารดังกล่าวไปด้วย เจ้าหน้าที่อาจจะไม่สามารถดำเนินการตามความต้องการของท่านได้ ซึ่งจะทำให้เสียเวลาและเสียเงิน ( ค่าพาหนะและค่าอาหาร ) โดยเปล่าประโยชน์นอกจากนี้ การติดต่องานอำเภอบางอย่างจำเป็นต้องนำเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ หรือพยานบุคคลไปแสดงประกอบด้วย เช่น การขอแก้ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล ในใบทะเบียนบ้าน ท่านจะต้องนำสูติบัตร, ใบ ส.ด. ๙, ใบทะเบียนของโรงเรียนติดตัวไปด้วยเสมอ หรือการจดทะเบียนสมรสมีคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ( อายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ) จะต้องนำบิดามารดาไปให้ความยินยอมด้วยเป็นต้น
๒. เจ้าหน้าที่ไม่สุภาพ หรือไม่ได้รับความสะดวก ควรเข้าพบนายอำเภอ
ในบางครั้งการติดต่องานอำเภอท่านอาจจะประสบปัญหาบางประการที่ทำความหนักใจให้ท่าน เช่น เจ้าหน้าที่ใช้วาจาไม่สุภาพ ใช้วาจาข่มขู่ ข่มเหง เรียกร้องค่าตอบแทนเกินอัตราที่ทางราชการกำหนด หรือไม่ได้ให้ความเป็นธรรมแก่ท่าน เป็นต้นเมื่อท่านประสบปัญหาดังกล่าวข้างต้น ท่านควรเข้าพบนายอำเภอเพื่อปรึกษาหารือ หรือชี้แจ้งปัญหาเดือดร้อนต่างๆ ที่ท่านประสบ กรณีเช่นนี้นายอำเภอจะช่วยแนะนำและแก้ไขปัญหาให้แก่ท่านได้อย่างดีที่สุด
กฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบล
บทที่ 1 รัฐธรรมนูญกับการปกครองท้องถิ่น
บทที่ 2 สาระสำคัญของกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบล
บทที่ 3 องค์การบริหารส่วนตำบลในฐานะหน่วยการปกครองท้องถิ่น
บทที่ 4 การจัดทำแผนพัฒนาตำบล
บทที่ 5 การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บทที่ 6 การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
บทที่ 7 การตรวจสอบทางการเงิน
บทที่ 8 แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดชอบในทางแพ่ง
บทที่ 9 กฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น
บทที่ 10 กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลท้องถิ่น
ภาค 2 กฎหมายระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงาน อบต.
1. พระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2547
2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ.2538
3. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดหาผลประโยชน์ในทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2538
กฎหมายรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง
หมวดที่1
มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทาง
รัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศบทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
มาตรา ๗ ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
หมวดที่2
พระมหากษัตริย์
หมวดที่3
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
หมวดที่4
หน้าที่ของชนชาวไทย
หมวดที่5
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
หมวดที่6
รัฐสภา
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร
ส่วนที่ 3 วุฒิสภา
ส่วนที่ 4 คณะกรรมการเลือกตั้ง
ส่วนที่ 5 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง
ส่วนที่ 6 การประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง
ส่วนที่ 7 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ส่วนที่ 8 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
หมวดที่7
คณะรัฐมนตรี
หมวดที่8
ศาล
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
ส่วนที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ 3 ศาลยุติธรรม
ส่วนที่ 4 ศาลปกครอง
ส่วนที่ 5 ศาลทหาร
หมวดที่9
การปกครองส่วนท้องถิ่น
หมวดที่10
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ส่วนที่ 1 การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
ส่วนที่ 2 คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ
ส่วนที่ 3 การถอดถอนจากตำแหน่ง
ส่วนที่ 4 การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
หมวดที่11
การตรวจเงินแผ่นดิน
หมวดที่12
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
เฉพาะการ
่ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง
หมวดที่ 1
สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน
หมวดที่ 2
องค์กรระบบ เลือกตั้งและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
หมวดที่ 3
การเลือกตั้ง ส.ส.
กฎหมายพิเศษ
ละเมิด คือ การกระทำใด ๆ ของบุคคลหรือการกระทำที่อยู่ในความรับผิดชอบของบุคคอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น ผู้ได้รับความเสียหายนั้นชอบที่จะได้รับการเยียวยา โดยการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หรือเรียกร้อง ให้ผู้ละเมิดปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติในลักษณะอื่น ๆ แล้วแต่กรณี เช่น นาย ก. ขับรถโดยประมาทเลินเล่อชนนาย ข. หรือ ก. จงใจทำร้าย ข.เช่นนี้ นาย ข. ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือร่างกาย ย่อมเรียกให้ นาย ก. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นได้
แต่ผู้เสียหายในเรื่องของละเมิดกฏหมายจำกัดไว้เฉพาะกรณีเท่านั้นหมายความว่ามิใช่ผู้เสียหายทุกกรณีจากการกระทำของผู้ อื่นจะมีสิทธิได้รับการเยียวยา เช่น นาย ก. ประกอบกิจการร้านขายของชำอยู่ชานเมืองเป็นเวลา ๒๐ ปี มีรายได้จุนเจือครอบครัวอย่างมีความสุขมาตลอด ต่อมา นาย ข.ได้มาเปิดห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ข้าง ๆ กับร้านของนาย ก. นับแต่นั้นมาลูกค้าทั้งหลายของนาย ก. ก็เข้าไปอุดหนุนร้านของนาย ข. จนนาย ก.ไม่อาจเปิดกิจการต่อไปได้เพราะไม่มีลูกค้าเลย ความเสียหายของนาย ก. คือ ขาดรายได้ที่เคยได้รับตามปกติคตลอดนับสิบปีที่ผ่านมา นาย ก. ไม่อาจเรียกร้องให้นาย ข. ชดใช้ให้ได้ ลักษณะเช่นนี้มิใช่ กรณีละเมิด เพราะนาย ข. มีอำนาจกระทำ ลักษณะการกระทำใดจะเป็นละเมินนั้น กฏหมายได้ระบุไว้ดังจะได้ อธิบายในลำดับต่อไป
2. ความรับผิดเพื่อการกระทำของตนเอง
ผู้ใดก่อความเสียหายให้แก่ผู้อื่น ย่อมต้องรับผิดชอบเยียวยาให้ผู้เสียหายได้กลับคืนสู่สภาพเดิม โดยวิธีการที่เหมาะสม การกระทำละเมิดต้องมีลักษณะดังนี้
ก. จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ฉะนั้นถ้าเป็นการกระทำที่ละเมิดระวังเต็มที่แล้ว ย่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นอีก ก็ไม่ต้องรับผิด เช่น พนักงานเสิรฟ์อาหารในภัตราคารกำลังยกอาหารร้อนจัดไปให้ลูกค้า ด้วยความระมัดระวังเต็มที่ ขณะนั้นลูกค้าคนหนึ่งรีบเดินเข้ามาไม่ทันเห็น จึงชนชามซุปหกลาดบนขาของตนเอง ได้รับบาดเจ็บ กรณีเช่นนี้ผู้ได้รับบาดเจ็บเรียกร้องฐานละเมิดไม่ได้
ข. ผิดกฏหมาย โดยปกติกฏหมายได้คุ้มครองชีวิตร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของบุคคลไว้อยู่แล้ว การกระทำต่อสิ่งเหล่านี้โดยไม่มีอำนาจถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย
ค. กระทำต่อสิ่งที่กฏหมายคุ้มครอง คือ ชีวิตร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ถ้ากระทำต่อสิ่งอื่นนอกจากนี้ไม่ถือว่าเป็นการละเมิด
ง. เกิดความเสียหาย ละเมิดนั้นต้องการเยียวยาความเสียหานที่เกิดขึ้น ถ้าไม่มีความเสียหายก็ไม่มีอะไรต้องเยียวยา เช่น คนขี่รถจักรยานประมาทเลินเล่อ พุ่งเข้าชนรถบรรทุก รถจักยานพัง และผู้ขี่ได้ รับบาดเจ็บ รถบรรทุกไม่เสียหายใด ๆ ลักษณะเช่นนี้ เจ้าของรถบรรทุกไม่มีสิทธิฟ้องฐานละเมิด เพราะตนเองไม่มีความเสียหายใด ๆ จากการประมาทเลินเล่อของผู้อื่น
จ. มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล ความเสียหายที่เกิดนั้นต้องสามารถคาดเห็นได้ ความเสียหายอื่น ๆ ที่ผิดปกติ กฏหมายไม่รับรองที่จะเยียวยาได้
๓. ความรับผิดเพื่อกระทำของบุคคลอื่น
ก. นายจ้างต้องรับผิดชอบต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง ถ้าลูกจ้างกระทำละเมิดในทางที่จ้าง
ข. ตัวการต้องรับผิดต่อการกระทำละเมิดของตัวแทน
ค. ผู้ว่าจ้างทำของ "ไม่ต้องรับผิด" ต่อการละเมิดของผู้รับจ้าง เว้นแต่ ผู้ว่าจ้างทำของผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ง. บิดามารดา หรือผู้อนุบาล ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
จ. ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือผู้รับดูแล ต้องรับผิดต่อการกระทำของผู้เยาว์ หรือบุคคลไว้ความสามารถ
๔. ความรับผิดชอบเพราะการมีทรัพย์วินบางประเภทไว้ในครอบครอง
ก. ความเสียหายเกิดขึ้นนั้นเพราะสัตว์ เจ้าของหรือผู้รับเลี้ยงรักษาต้องรับผิดชอบ
ข. ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะโรงเรียน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่อง หรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอผู้ครอบครองต้อง รับผิดชอบ
ค. ความเสียหายเกิดเพราะยานพาหนะ รถยนต์ ทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายโดยสภาพ เช่น เครื่องจักร วัตถุระเบิด เป็นต้น ผู้ครอบครองหรือควบคุมต้องรับผิดชอบ
๕. การเยียวยาความเสียหาย
๑. ให้กระทำการ การเข้าไปในที่ดินของบุคคลอื่นในลักษณะบุรุก ศาลสามารถสั่งให้ออกไปจากที่ดังกล่าวได้ การกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทผู้อื่น ศาลอาจสั่งให้ผู้ละเมิดประกาศคำขอโทษลงในหนังสือพิมพ์รายวัน
๒.งดเว้นกระทำการ การใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาประกอบธุรกิจโดยไม่มีอำนาจ การเปิดวิทยุเสียงดัง รบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียง ศาลอาจสิ่งให้ผู้ละเมิดงดเว้นการกระทำดังกล่าว
๓. ค่าสินไหมทดแทน คือการเรียกให้ผู้ละเมิดชำระเงินเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในลักษณะดังนี้
ก. ความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย และเสรีภาพ ความสามารถเรียกค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายอื่น ๆในการรักษาพยาบาล เช่น ค่าเดินทาง ค่าขาดรายได้จากการประกอบอาชีพขณะบาดเจ็บ ค่าเสียหายทางจิตใจ กรณีถูกกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง หรือสูญเสียอวัยวะ กรณีตายสามารถเรียกค่าทำศพ ค่าเสียหายที่ไม่อาจคำนณได้แน่นอน เช่น การละเมิดต่อเสรีภาพ ชื่อเสียง ศาลก้จะคำนาณตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
ข. ความเสียหายต่อทรัพย์สิน เรียกค่าซ่อมแซมตามที่จำเป็น ถ้าสูญเสียหมดสิ้นไปก็เรียกให้ชำระราคาทั้งหมดได้
๖. อายุความ
๑. ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึง การละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน
๒.อย่างไรก็ตามห้ามเกิน ๑๐ ปี นับแต่วันทำละเมิด
กฎหมายเกี่ยวกับเช็ค
เมื่อถึงเวลาต้องขึ้นศาล (แพ่ง)
การปฏิบัติตนในการดำเนินคดีอาญา
กฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน
การดำเนินคดีอาญาแก่เด็กและเยาวชน
กฎหมายแรงงาน
กฎหมายประกันสังคม
การร้องทุกข์ในเรื่องที่ได้รับความเดือนร้อน จากเจ้าหน้าที่รัฐ ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
กฎหมายป่าไม้และกฎหมายอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
กฎหมายที่ดิน
กฎหมายเกี่ยวกับการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
กฎหมายภาษี
กฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืน
คำแนะนำในการไปติดต่อสถานีตำรวจ
การขออนุญาตต่าง ๆ
กฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน
หากว่าในขณะกู้ยืมเงินกันแต่มีการตกลงรับเอาสิ่งของแทนจำนวนเงิน ที่กู้ยืมกันนั้น ต้องคิดราคาของตลาดของสิ่งนั้นเป็นจำนวนเงินที่กู้จริง+ริงนั้น เช่น มีการตกลงกู้ยืมเงินกัน ๕๐๐ บาท แต่มีการตกลงให้รับข้าวสารแทน ๒ กระสอบ ซึ่งในขณะนั้นข้าวสารกระสอบละ ๑๕๐ บาท ดังนั้น เราถือว่า มีการกู้ยืมเงินกันจริงเพียง ๓๐๐ บาทเท่านั้น
๔. อายุความ
การฟ้องร้องเรียกเงินตามสัญญากู้จะต้องกระทำภายในกำหนดอายุ ความ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องฟ้องภายใน ๑๐ ปีนับแต่วันที่ถึง กำหนดชำระเงินคืน
ตัวอย่าง แดง กู้ยืมเงิน ดำ เมื่อ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๐ จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท เป็นเวลา ๑ ปี ดังนั้นหนี้รายนี้ถึงกำหนดในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๑ ผู้ให้กู้ต้องฟ้องเรียก เงินที่กู้ยืมคืน ภายใน ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๑
(๑) อย่าได้ลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าเป็นอันขาด
๖. ข้อปฏิบัติในการชำระเงิน
สิ่งที่ผู้กู้ควรกระทำเมื่อชำระเงิน คือ
(๑) รับใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือที่มีข้อความว่า ได้ชำระเงินที่กู้มาแล้วทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนและมีลายเซ็นผู้ให้กู้กำกับไว้ด้วย
ตัวอย่าง ข้าพเจ้า นายสมศักดิ์ ร่ำรวยทรัพย์ ได้รับเงินคืนจากนายดำ เกิดมาก ผู้กู้เป็นจำนวน ๕,๐๐๐ บาท
ลงชื่อ สมศักดิ์ ร่ำรวยทรัพย์ ผู้ให้กู้
(๒) รับหนังสือสัญญากู้เงินที่ได้ทำไว้แก่ผู้ให้กู้นมาในกรณีที่ชำระเงินครบตามจำนวนเงินที่กู้
(๓) มีการบันทึกลงในสัญญากู้ว่าได้นำเงินมาชำระแล้วเท่าไรและให้ ผู้ให้กู้เซ็นชื่อกำกับไว้ ผู้ให้กู้ต้องเซ็นชื่อกำกับไว้ทุกครั้งที่มีการชำระเงิน จึงจะอ้างยันได้ว่าได้ชำระเงินไปแล้ว
ค้ำประกัน
จำนอง (ทรัพย์สินที่จำนองได้,ข้อควรระมัดระวังในการจำนอง)
จำนำ
ซื้อขาย (หลักในการทำสัญญา, วิธีการทำสัญญา,หน้าที่และความรับผิดชอบของคู่สัญญา)
ขายฝาก (ทรัพย์สินที่ขายฝากได้,แบบของสัญญาขายฝาก,สินไถ่, กำหนดเวลาการไถ่)
เช่าทรัพย์ (สัญญาเช่าทรัพย์, เช่าช่วง, สัญญาต่างตอบแทน,การสิ้นสุดแห่งสัญญาเช่า)
เช่าซื้อ (แบบของสัญญาเช่าซื้อ,สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาเช่าซื้อ)