วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

กฎหมายพิเศษ

๑. ลักษณะการกระทำละเมิด
ละเมิด คือ การกระทำใด ๆ ของบุคคลหรือการกระทำที่อยู่ในความรับผิดชอบของบุคคอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น ผู้ได้รับความเสียหายนั้นชอบที่จะได้รับการเยียวยา โดยการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หรือเรียกร้อง ให้ผู้ละเมิดปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติในลักษณะอื่น ๆ แล้วแต่กรณี เช่น นาย ก. ขับรถโดยประมาทเลินเล่อชนนาย ข. หรือ ก. จงใจทำร้าย ข.เช่นนี้ นาย ข. ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือร่างกาย ย่อมเรียกให้ นาย ก. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นได้

แต่ผู้เสียหายในเรื่องของละเมิดกฏหมายจำกัดไว้เฉพาะกรณีเท่านั้นหมายความว่ามิใช่ผู้เสียหายทุกกรณีจากการกระทำของผู้ อื่นจะมีสิทธิได้รับการเยียวยา เช่น นาย ก. ประกอบกิจการร้านขายของชำอยู่ชานเมืองเป็นเวลา ๒๐ ปี มีรายได้จุนเจือครอบครัวอย่างมีความสุขมาตลอด ต่อมา นาย ข.ได้มาเปิดห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ข้าง ๆ กับร้านของนาย ก. นับแต่นั้นมาลูกค้าทั้งหลายของนาย ก. ก็เข้าไปอุดหนุนร้านของนาย ข. จนนาย ก.ไม่อาจเปิดกิจการต่อไปได้เพราะไม่มีลูกค้าเลย ความเสียหายของนาย ก. คือ ขาดรายได้ที่เคยได้รับตามปกติคตลอดนับสิบปีที่ผ่านมา นาย ก. ไม่อาจเรียกร้องให้นาย ข. ชดใช้ให้ได้ ลักษณะเช่นนี้มิใช่ กรณีละเมิด เพราะนาย ข. มีอำนาจกระทำ ลักษณะการกระทำใดจะเป็นละเมินนั้น กฏหมายได้ระบุไว้ดังจะได้ อธิบายในลำดับต่อไป

2. ความรับผิดเพื่อการกระทำของตนเอง
ผู้ใดก่อความเสียหายให้แก่ผู้อื่น ย่อมต้องรับผิดชอบเยียวยาให้ผู้เสียหายได้กลับคืนสู่สภาพเดิม โดยวิธีการที่เหมาะสม การกระทำละเมิดต้องมีลักษณะดังนี้

ก. จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ฉะนั้นถ้าเป็นการกระทำที่ละเมิดระวังเต็มที่แล้ว ย่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นอีก ก็ไม่ต้องรับผิด เช่น พนักงานเสิรฟ์อาหารในภัตราคารกำลังยกอาหารร้อนจัดไปให้ลูกค้า ด้วยความระมัดระวังเต็มที่ ขณะนั้นลูกค้าคนหนึ่งรีบเดินเข้ามาไม่ทันเห็น จึงชนชามซุปหกลาดบนขาของตนเอง ได้รับบาดเจ็บ กรณีเช่นนี้ผู้ได้รับบาดเจ็บเรียกร้องฐานละเมิดไม่ได้

ข. ผิดกฏหมาย โดยปกติกฏหมายได้คุ้มครองชีวิตร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของบุคคลไว้อยู่แล้ว การกระทำต่อสิ่งเหล่านี้โดยไม่มีอำนาจถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย

ค. กระทำต่อสิ่งที่กฏหมายคุ้มครอง คือ ชีวิตร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ถ้ากระทำต่อสิ่งอื่นนอกจากนี้ไม่ถือว่าเป็นการละเมิด

ง. เกิดความเสียหาย ละเมิดนั้นต้องการเยียวยาความเสียหานที่เกิดขึ้น ถ้าไม่มีความเสียหายก็ไม่มีอะไรต้องเยียวยา เช่น คนขี่รถจักรยานประมาทเลินเล่อ พุ่งเข้าชนรถบรรทุก รถจักยานพัง และผู้ขี่ได้ รับบาดเจ็บ รถบรรทุกไม่เสียหายใด ๆ ลักษณะเช่นนี้ เจ้าของรถบรรทุกไม่มีสิทธิฟ้องฐานละเมิด เพราะตนเองไม่มีความเสียหายใด ๆ จากการประมาทเลินเล่อของผู้อื่น

จ. มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล ความเสียหายที่เกิดนั้นต้องสามารถคาดเห็นได้ ความเสียหายอื่น ๆ ที่ผิดปกติ กฏหมายไม่รับรองที่จะเยียวยาได้

๓. ความรับผิดเพื่อกระทำของบุคคลอื่น
กรณีนี้เป็นนโยบายทางกฏหมายที่กำหนดให้ผู้หนึ่งผู้ใดต้องรับผิดแม้ว่าตนเองมิใช่เป็นผู้กระทำละเมิดโดยตรง เพราะผู้นั้นเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากิจการงานของผู้กระทำละเมิด หรือผู้นั้นมีหน้าที่ดูแลผู้กระทำละเมิด คือ

ก. นายจ้างต้องรับผิดชอบต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง ถ้าลูกจ้างกระทำละเมิดในทางที่จ้าง

ข. ตัวการต้องรับผิดต่อการกระทำละเมิดของตัวแทน

ค. ผู้ว่าจ้างทำของ "ไม่ต้องรับผิด" ต่อการละเมิดของผู้รับจ้าง เว้นแต่ ผู้ว่าจ้างทำของผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง

ง. บิดามารดา หรือผู้อนุบาล ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง

จ. ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือผู้รับดูแล ต้องรับผิดต่อการกระทำของผู้เยาว์ หรือบุคคลไว้ความสามารถ

๔. ความรับผิดชอบเพราะการมีทรัพย์วินบางประเภทไว้ในครอบครอง
ทรัพย์สินบางประเภทมีลักษณะที่เป็นอันตรายหรือมีอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับบุคคลอื่นได้ โดยไม่สามารถ รู้ได้ว่าเกิดขึ้นอย่างไร ฉะนั้นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ คือผู้ครอบครอง ย่อมมี ภารถที่จะต้องรับผิดต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดจากทรัพย์สินดังกล่าวซึ่งมีกรณีดังต่อไปนี้

ก. ความเสียหายเกิดขึ้นนั้นเพราะสัตว์ เจ้าของหรือผู้รับเลี้ยงรักษาต้องรับผิดชอบ

ข. ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะโรงเรียน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่อง หรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอผู้ครอบครองต้อง รับผิดชอบ

ค. ความเสียหายเกิดเพราะยานพาหนะ รถยนต์ ทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายโดยสภาพ เช่น เครื่องจักร วัตถุระเบิด เป็นต้น ผู้ครอบครองหรือควบคุมต้องรับผิดชอบ

๕. การเยียวยาความเสียหาย

๑. ให้กระทำการ การเข้าไปในที่ดินของบุคคลอื่นในลักษณะบุรุก ศาลสามารถสั่งให้ออกไปจากที่ดังกล่าวได้ การกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทผู้อื่น ศาลอาจสั่งให้ผู้ละเมิดประกาศคำขอโทษลงในหนังสือพิมพ์รายวัน

๒.งดเว้นกระทำการ การใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาประกอบธุรกิจโดยไม่มีอำนาจ การเปิดวิทยุเสียงดัง รบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียง ศาลอาจสิ่งให้ผู้ละเมิดงดเว้นการกระทำดังกล่าว

๓. ค่าสินไหมทดแทน คือการเรียกให้ผู้ละเมิดชำระเงินเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในลักษณะดังนี้

ก. ความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย และเสรีภาพ ความสามารถเรียกค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายอื่น ๆในการรักษาพยาบาล เช่น ค่าเดินทาง ค่าขาดรายได้จากการประกอบอาชีพขณะบาดเจ็บ ค่าเสียหายทางจิตใจ กรณีถูกกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง หรือสูญเสียอวัยวะ กรณีตายสามารถเรียกค่าทำศพ ค่าเสียหายที่ไม่อาจคำนณได้แน่นอน เช่น การละเมิดต่อเสรีภาพ ชื่อเสียง ศาลก้จะคำนาณตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

ข. ความเสียหายต่อทรัพย์สิน เรียกค่าซ่อมแซมตามที่จำเป็น ถ้าสูญเสียหมดสิ้นไปก็เรียกให้ชำระราคาทั้งหมดได้

๖. อายุความ

๑. ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึง การละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน
๒.อย่างไรก็ตามห้ามเกิน ๑๐ ปี นับแต่วันทำละเมิด

กฎหมายเกี่ยวกับเช็ค

เมื่อถึงเวลาต้องขึ้นศาล (แพ่ง)

การปฏิบัติตนในการดำเนินคดีอาญา

กฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน

การดำเนินคดีอาญาแก่เด็กและเยาวชน

กฎหมายแรงงาน

กฎหมายประกันสังคม

การร้องทุกข์ในเรื่องที่ได้รับความเดือนร้อน จากเจ้าหน้าที่รัฐ ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์

กฎหมายป่าไม้และกฎหมายอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

กฎหมายที่ดิน

กฎหมายเกี่ยวกับการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

กฎหมายภาษี

กฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืน

คำแนะนำในการไปติดต่อสถานีตำรวจ

การขออนุญาตต่าง ๆ